พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระขุนแผนพรายกุ...
พระขุนแผนพรายกุมาร รุ่นสร้างโบสถ์วัดพรหมบุรี ปี2496 หลังยัต์เฑาะว์
ขออนุญาติเผยแพร่ เพื่อการศึกษาพระร่วมกันครับ

#ท่านพรพครูวิบูลวิหารกิจ (หลวงพ่อจ่าย ธมฺมปญฺโญ) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดรุ้ง จ.อ่างทอง
#เข้าร่วมพิธีปลุกเสกพระ



ศิษย์องค์สุดท้ายของท่าน
หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร แห่งวัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์

พระวัดพรหมบุรี ถูกสร้างไว้โดยท่านหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม สมัยท่านจำพรรษาอยู่วัดพรหมบุรี

ท่านพระครูวิบูลวิหารกิจ
(ท่านหลวงพ่อจ่าย ธมฺมปญฺโญ) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดรุ้ง จ.อ่างทอง
#เข้าร่วมพิธีปลุกเสกพระ

ชีวประวัติ...

ท่านพระครูวิบูลวิหารกิจ (ท่านหลวงพ่อจ่าย ธมฺมปญฺโญ)


เกิด...
เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีระกา สัปตศก (สัปตศกน. ปีที่ ๗ แห่งรอบ ๑๐ ปี ของจุลศักราช.)

ที่บ้านเจ้าปลุก ต.เจ้าปลุก อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา

บิดาชื่อ นาย ประหยัด ฉายสุวรรณ
มารดาชื่อ นาง เล็ก ฉายสุวรรณ

มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันรวม ๖ คนคือ
๑.นายหยด
๒.พระครูวิบูลวิหารกิจ(หลวงพ่อจ่าย)
๓.นางสำฤทธิ์
๔.นางโต๊ะ
๕.พระภิษุทองย้อย
๖.นายเขียว ฉายสุวรรณ

หลวงพ่อพระครูวิบูลวิหารกิจ เมื่อเป็นเด็กเรียนหนังสือที่วัดเจ้าปลุกกับท่านอาจารย์ศรีพออ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุครบอุปสมบท ก็ได้อุปสมบทที่วัดเจ้าปลุก
มีพระครูพุทธวิหารโสภณวัดหน้าพระเมรุ จ.อยุธยาเป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์ เถิ่ง วัดน้ำเต้า เป็นพระกรรมวาจา
พระอาจารย์ศรี วัดเจ้าปลุก
เป็นอนุสาวนาจารย์
บวชอยู่ที่วัดเจ้าปลุก ๕ พรรษา ครบนิสัยยมุตตกพอดี

ครั้นเมื่อวัดรุ้ง ต.บ้านรี อ.เมือง จ.อ่างทอง ว่างสมภารลง ชาวบ้านตำบลบ้านรีจึงชวนกันไปอาราธนาให้ท่านมาเป็นสมภารวัดรุ้ง ท่านมาอยู่วัดรุ้งได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านเป็นผู้เคร่งครีดต่อกิจวัตรของสมณเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น และสวดมนต์ไม่เคยขาดเลย เว้นแต่ป่วยหรือติดกิจนิมนต์ที่ไปค้างคืนเท่านั้น แต่ถ้าหากท่านไปกิจนิมนต์ที่ไม่ได้ค้างแรม เมื่อกลับมาถึงวัด จะเป็นเวลาเย็นหรือค่ำก็ตามที ท่านจะรีบสรงน้ำเสร็จแล้วจะตีระฆังเล็กที่หน้ากุฏิอันเป็นสัณญานทำวัตรเย็น ท่านจะครองผ้าจีวรพาดผ้าสังฆาฏิตรงไปที่หอสวดมนต์นำพระลูกวัดทำวัตรและสวดมนต์ บางทีจะมีพระลูกวัดออกไปทำวัตรสวดมนต์เพียง๑องค์บ้าง๒องค์บ้าง ท่านก็ไม่เคยนึกว่าวันนี้พระน้อยไม่สวดมนต์ พระมากถึงจะสวด ท่านต้องสวดทุกๆวัน การสวดของท่านเริ่มต้นแต่ผูกอวิชา ไปจนถึงมหาสมัยยสูตรจบแล้วก็กลับขึ้นต้นสวดผูกอวิชาไปอีก ท่านเป็นพระภิกษุที่ชอบสวดมนต์ทำวัตรมาก ไม่ใช่แต่จะสวดภายในพรรษาเท่านั้น แม่ออกพรรษาแล้วท่านก็สวดมนต์ทุกวัน จนชาวบ้านแถวนั้นพูดกันว่าพระวัดรุ้งขยันสวดมนต์ไม่ขี้เกียจ อันนี้เป็นปฎิปทาของท่านส่วนหนึ่งซึ่งยังประชาชนชาวบ้านให้เลื่อมใสในตัวท่าน ท่านปฏิบัตแบบนี้เรื่อยมา เสมอต้นเสมอปลาย จนกระทั่งท่านชราภาพ ถูกพยาธิเข้ารบกวนจึงจำต้องหยุดไปเองในที่สุด แม้อุโบสถสังฆกรรมท่าน ก็เอาใจใส่ลงไปฟังพระปฏิโมกข์ทุกวันพระอุโบสถเป็นประจำ ทำกิจทางพระวินัยไม่บกพร่อง มิใช่แต่เท่านั้น ทางสมาธิจิตท่านก็ได้ฝึกหัดอบรมเป็นประจำจนชำนาญ จนเป็นมูลฐานให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ทางอาคมจนแพร่หลาย
ท่านพระครูวิบูลวิหารกิจ
(หลวงพ่อจ่าย ธมฺมปญ์โญ)ได้มรณะภาพลง ณ. โรงพยาบาลอ่างทอง
วันที่ ๓ กุมพาพันธ์ ๒๕๑๒ เวลา ๐๒.๕๒ น. อายุ๘๔ปี
ครองสมณเพศทั้งหมด๖๔พรรษา

ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือพิมพ์แจกในงาน พระราชทานเพลิงศพ พระครูวิบูลวิหารกิจ(หลวงพ่อจ่าย) อดีตเจ้าอาวาศวัดรุ้ง อดีตเจ้าคณะตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
พระราชทานเพลิงวันที่ ๒๒ กุมพาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๓

ถ้าความผิดพลาดบกพร่องอันใดจะพึงบังเกิดมีขึ้นได้ในการเขียนครั้งนี้ ข้าพเจ้ายินดีรับความผิดพลาด ถ้าบุญกุศลประโยชสุขอันใด อันจะบังเกิดพึงมีได้ในการแต่งเขียนครั้งนี้ แก่ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอมอบส่วนกุศลอันนี้ให้แก่บุรพาจารย์ทั้งหลายอันมีหลวงพ่อจ่ายเป็นต้น ตลอดจนประชาชนและอุบัติเทพ ผู้เป็นบัณฑิตย์ทั่วทุกท่านเทอญ..
(ผู้เขียน คุณเหลิม วัดรุ้ง)

#การสร้างพระเครื่องวัดพรหมบุรี ปี ๒๔๙๖

เพื่อจะหารายได้ เพื่อการดำเนินการจัดสร้างโบสถ์ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม ท่านมีดำริที่จะสร้างพระไว้แจกแก่ญาติโยมที่มาช่วยบริจาค ท่านได้ไปขอความเมตตาต่อพระราชโมลีเจ้าอาวาสวัดระฆัง (ท่านหลวงปู่นาค โสภโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆัง
พ.ศ.2475 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศขึ้นเป็น พระราชโมลี )

ขอให้เป็นเจ้าพิธีในการจัดสร้างพระราชโมลีได้มอบมวลสารผง
ของสมเด็จโตฯ ที่เก็บ ไว้และได้ออกหนังสือรับรองให้เมื่อวันที่ ๑๓ พ.ย. ๒๔๙๕ นอกจากนั้นยังมีผงเก่าๆที่ท่านได้
รวบรวมไว้เช่น
๑.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน
๒.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู
๓.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
๔.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเชย วัดปากน้ำ(หรือวัดท่าควาย)
๕.ผงธุปจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เมื่อ รวบรวมผงที่นำมาสร้างพระแล้วได้นำมาสร้างเป็นพระพิมพ์แบบต่างๆ
ได้แก่ พิมพ์สมเด็จ ๗ ชั้น พิมพ์สมเด็จ ๓ ชั้น,สมเด็จขาโต๊ะ,พระขุนแผน ,พิมพ์พระประจำวันต่างๆ,พระพุทธชิน
ราช และแบบอื่นๆอีกหลายพิมพ์ ซึ่งแต่และพิมพ์นั้น ได้มีการสร้างไว้ไม่ทราบจำนวน เมื่อแล้วเสร็จได้นำพระ
เหล่านี้ไปให้หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ปลุกเสกเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๙๖ เสร็จแล้วนำมาปลุก
เสกอีกที ที่วัดพรหมบุรีในวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๙๖ โดยมีเกจิที่ร่วมปลุกเสก อาทิเช่น
๑. พระคุณเจ้า พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
๒. พระคุณเจ้า พระครูวิบูลวิหารกิจ (หลวงพ่อจ่าย ธมฺมปญฺโญ) วัดรุ้ง จ.อ่างทอง
๒. พระคุณเจ้า พระครูสิทธิสารคุณ(หลวงพ่อจาด คังคสโร) วัดบางกะเบา
๓. พระคุณเจ้า พระวินัยธร (หลวงพ่อซวง อภโย) วัดชีปะขาว สิงห์บุรี
๔. พระคุณเจ้า หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก
๕. พระคุณเจ้า หลวงพ่อเขียว วัดเสาธงทอง อ่างทอง
๖. พระคุณเจ้า หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคร ลพบุรี
๗. พระคุณเจ้า หลวงพ่อโม ธมฺรกฺขิโต วัดจันทาราม ชัยนาท
๘. พระคุณเจ้า หลวงพ่อปลั่ง วัดภิญโญ ลพบุรี
๙. พระคุณเจ้า หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม (พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ
พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาส) (วัดอัมพวัน)
๑๐. พระคุณเจ้า หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร
๑๑. พระคุณเจ้า พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม จังหวัดสิงห์บุรี

เกจิรูปอื่นๆอีก รวมทั้งสิ้น ๒๑รูป เสร็จแล้วได้นำออกแจกจ่ายญาติโยมที่ร่วมทำบุญ โดยจะแจกพระพร้อมกับ
ใบปลิวรายละเอียดการสร้าง ก่อนที่หลวงพ่อจะได้ทำการจัดสร้างพระนั้น ท่านได้ไปศึกษาและเรียนวิชากับเกจิ
ตามรายชื่อดังนี้ พ.ศ.๒๔๙๓ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) วัดหนองโพธิ์ พ.ศ.๒๔๙๔ หลวง
พ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร (เส็ง ปุสโส) วัดเขาสวนกวาง พ.ศ.๒๔๙๕ ศึกษาทำ
เครื่องรางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และ พระครูวินิจสุตคุณ (หลวงพ่อสนั่น) วัดเสาธง
ทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้างสร้าง พ.ศ.๒๔๙๖ ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชย์พระราช
สิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพ ฯลฯ
การสร้างพระเครื่องของวัดพรหมบุรีในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ สมัยก่อนชาวบ้านช่วยกันสร้าง พระชุดวัดพรหมบุรีมีไม่
ต่ำกว่า ๓๐ พิมพ์ เนื้อขององค์พระนั้นจะตำหลายครก แล้วมาผสมกันปั้นเป็นลูกกลมๆแล้วนำไปกดใส่พิมพ์ เนื้อ
ของแต่ละองค์ หรือแต่ละพิมพ์จะมีหลายเนื้อ มีเนื้อผงใบลาน,เนื้อว่าน,เนื้อดินผสมว่าน,เนื้อผงสีขาวขาวฟู ๆ
,เนื้อผงสีขาวนวลๆ,เนื้อเขียว,เนื้อผงน้ำมัน,เนื้อหินมีนโกน,เนื้อผงแห้งๆก็มี เพราะการผสมผงของแต่ละครกไม่
เหมือนกัน พระชุดวัดพรหมเป็นพระที่ถอดพิมพ์จากพระพิมพ์ของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ และพระกรุที่พบ เช่น
พิมพ์พระผงสุพรรณ พิมพ์นางพญา พิมพ์พระรอด พิมพ์หลวงพ่อโตบางกระทิง พิมพ์พระโคนสมอ พิมพ์พระนาคปรก ฯลฯ

เครดิต และขอขอบคุณสำหรับข้อมูล

แหล่งที่มาของข้อมูล ::
เฟสกลุ่ม ชมรมคนรัก"วัดรุ้ง"หลวงพ่อจ่าย

คุณเหลิม วัดรุ้ง

สามารถ แชร์และเผยแพร่ข้อมูลเป็นวิทยาทานได้ครับ
ผู้เข้าชม
869 ครั้ง
ราคา
0000
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
ยังไม่เปิดร้านค้า
ร้านค้า
-
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
ppanas2509
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
205-2-064xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
BAINGERNponsrithong2ponsrithongวุฒิ แสนคูณtermboonสุคนธ์ โคราช
บี บุรีรัมย์เปียโนchaithawatvanglannatatingtatingโกหมู
บ้านพระสมเด็จบ้านพระหลักร้อยเนินพระ99นิสสันพระเครื่องหนองคายchaokohเทพจิระ
เจริญสุขpratharn_pตุ๊ก แปดริ้วสายน้ำอุ่นnatthanetErawan
AmuletManTotoTatoKP@DronkumphaZomlazzaliโจ้ ลำนารายณ์

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1408 คน

เพิ่มข้อมูล

พระขุนแผนพรายกุมาร รุ่นสร้างโบสถ์วัดพรหมบุรี ปี2496 หลังยัต์เฑาะว์




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระขุนแผนพรายกุมาร รุ่นสร้างโบสถ์วัดพรหมบุรี ปี2496 หลังยัต์เฑาะว์
รายละเอียด
ขออนุญาติเผยแพร่ เพื่อการศึกษาพระร่วมกันครับ

#ท่านพรพครูวิบูลวิหารกิจ (หลวงพ่อจ่าย ธมฺมปญฺโญ) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดรุ้ง จ.อ่างทอง
#เข้าร่วมพิธีปลุกเสกพระ



ศิษย์องค์สุดท้ายของท่าน
หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร แห่งวัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์

พระวัดพรหมบุรี ถูกสร้างไว้โดยท่านหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม สมัยท่านจำพรรษาอยู่วัดพรหมบุรี

ท่านพระครูวิบูลวิหารกิจ
(ท่านหลวงพ่อจ่าย ธมฺมปญฺโญ) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดรุ้ง จ.อ่างทอง
#เข้าร่วมพิธีปลุกเสกพระ

ชีวประวัติ...

ท่านพระครูวิบูลวิหารกิจ (ท่านหลวงพ่อจ่าย ธมฺมปญฺโญ)


เกิด...
เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๘ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีระกา สัปตศก (สัปตศกน. ปีที่ ๗ แห่งรอบ ๑๐ ปี ของจุลศักราช.)

ที่บ้านเจ้าปลุก ต.เจ้าปลุก อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา

บิดาชื่อ นาย ประหยัด ฉายสุวรรณ
มารดาชื่อ นาง เล็ก ฉายสุวรรณ

มีพี่น้องร่วมมารดาเดียวกันรวม ๖ คนคือ
๑.นายหยด
๒.พระครูวิบูลวิหารกิจ(หลวงพ่อจ่าย)
๓.นางสำฤทธิ์
๔.นางโต๊ะ
๕.พระภิษุทองย้อย
๖.นายเขียว ฉายสุวรรณ

หลวงพ่อพระครูวิบูลวิหารกิจ เมื่อเป็นเด็กเรียนหนังสือที่วัดเจ้าปลุกกับท่านอาจารย์ศรีพออ่านออกเขียนได้ เมื่ออายุครบอุปสมบท ก็ได้อุปสมบทที่วัดเจ้าปลุก
มีพระครูพุทธวิหารโสภณวัดหน้าพระเมรุ จ.อยุธยาเป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์ เถิ่ง วัดน้ำเต้า เป็นพระกรรมวาจา
พระอาจารย์ศรี วัดเจ้าปลุก
เป็นอนุสาวนาจารย์
บวชอยู่ที่วัดเจ้าปลุก ๕ พรรษา ครบนิสัยยมุตตกพอดี

ครั้นเมื่อวัดรุ้ง ต.บ้านรี อ.เมือง จ.อ่างทอง ว่างสมภารลง ชาวบ้านตำบลบ้านรีจึงชวนกันไปอาราธนาให้ท่านมาเป็นสมภารวัดรุ้ง ท่านมาอยู่วัดรุ้งได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านเป็นผู้เคร่งครีดต่อกิจวัตรของสมณเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น และสวดมนต์ไม่เคยขาดเลย เว้นแต่ป่วยหรือติดกิจนิมนต์ที่ไปค้างคืนเท่านั้น แต่ถ้าหากท่านไปกิจนิมนต์ที่ไม่ได้ค้างแรม เมื่อกลับมาถึงวัด จะเป็นเวลาเย็นหรือค่ำก็ตามที ท่านจะรีบสรงน้ำเสร็จแล้วจะตีระฆังเล็กที่หน้ากุฏิอันเป็นสัณญานทำวัตรเย็น ท่านจะครองผ้าจีวรพาดผ้าสังฆาฏิตรงไปที่หอสวดมนต์นำพระลูกวัดทำวัตรและสวดมนต์ บางทีจะมีพระลูกวัดออกไปทำวัตรสวดมนต์เพียง๑องค์บ้าง๒องค์บ้าง ท่านก็ไม่เคยนึกว่าวันนี้พระน้อยไม่สวดมนต์ พระมากถึงจะสวด ท่านต้องสวดทุกๆวัน การสวดของท่านเริ่มต้นแต่ผูกอวิชา ไปจนถึงมหาสมัยยสูตรจบแล้วก็กลับขึ้นต้นสวดผูกอวิชาไปอีก ท่านเป็นพระภิกษุที่ชอบสวดมนต์ทำวัตรมาก ไม่ใช่แต่จะสวดภายในพรรษาเท่านั้น แม่ออกพรรษาแล้วท่านก็สวดมนต์ทุกวัน จนชาวบ้านแถวนั้นพูดกันว่าพระวัดรุ้งขยันสวดมนต์ไม่ขี้เกียจ อันนี้เป็นปฎิปทาของท่านส่วนหนึ่งซึ่งยังประชาชนชาวบ้านให้เลื่อมใสในตัวท่าน ท่านปฏิบัตแบบนี้เรื่อยมา เสมอต้นเสมอปลาย จนกระทั่งท่านชราภาพ ถูกพยาธิเข้ารบกวนจึงจำต้องหยุดไปเองในที่สุด แม้อุโบสถสังฆกรรมท่าน ก็เอาใจใส่ลงไปฟังพระปฏิโมกข์ทุกวันพระอุโบสถเป็นประจำ ทำกิจทางพระวินัยไม่บกพร่อง มิใช่แต่เท่านั้น ทางสมาธิจิตท่านก็ได้ฝึกหัดอบรมเป็นประจำจนชำนาญ จนเป็นมูลฐานให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ทางอาคมจนแพร่หลาย
ท่านพระครูวิบูลวิหารกิจ
(หลวงพ่อจ่าย ธมฺมปญ์โญ)ได้มรณะภาพลง ณ. โรงพยาบาลอ่างทอง
วันที่ ๓ กุมพาพันธ์ ๒๕๑๒ เวลา ๐๒.๕๒ น. อายุ๘๔ปี
ครองสมณเพศทั้งหมด๖๔พรรษา

ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือพิมพ์แจกในงาน พระราชทานเพลิงศพ พระครูวิบูลวิหารกิจ(หลวงพ่อจ่าย) อดีตเจ้าอาวาศวัดรุ้ง อดีตเจ้าคณะตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
พระราชทานเพลิงวันที่ ๒๒ กุมพาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๓

ถ้าความผิดพลาดบกพร่องอันใดจะพึงบังเกิดมีขึ้นได้ในการเขียนครั้งนี้ ข้าพเจ้ายินดีรับความผิดพลาด ถ้าบุญกุศลประโยชสุขอันใด อันจะบังเกิดพึงมีได้ในการแต่งเขียนครั้งนี้ แก่ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าขอมอบส่วนกุศลอันนี้ให้แก่บุรพาจารย์ทั้งหลายอันมีหลวงพ่อจ่ายเป็นต้น ตลอดจนประชาชนและอุบัติเทพ ผู้เป็นบัณฑิตย์ทั่วทุกท่านเทอญ..
(ผู้เขียน คุณเหลิม วัดรุ้ง)

#การสร้างพระเครื่องวัดพรหมบุรี ปี ๒๔๙๖

เพื่อจะหารายได้ เพื่อการดำเนินการจัดสร้างโบสถ์ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม ท่านมีดำริที่จะสร้างพระไว้แจกแก่ญาติโยมที่มาช่วยบริจาค ท่านได้ไปขอความเมตตาต่อพระราชโมลีเจ้าอาวาสวัดระฆัง (ท่านหลวงปู่นาค โสภโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆัง
พ.ศ.2475 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศขึ้นเป็น พระราชโมลี )

ขอให้เป็นเจ้าพิธีในการจัดสร้างพระราชโมลีได้มอบมวลสารผง
ของสมเด็จโตฯ ที่เก็บ ไว้และได้ออกหนังสือรับรองให้เมื่อวันที่ ๑๓ พ.ย. ๒๔๙๕ นอกจากนั้นยังมีผงเก่าๆที่ท่านได้
รวบรวมไว้เช่น
๑.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน
๒.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู
๓.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
๔.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเชย วัดปากน้ำ(หรือวัดท่าควาย)
๕.ผงธุปจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เมื่อ รวบรวมผงที่นำมาสร้างพระแล้วได้นำมาสร้างเป็นพระพิมพ์แบบต่างๆ
ได้แก่ พิมพ์สมเด็จ ๗ ชั้น พิมพ์สมเด็จ ๓ ชั้น,สมเด็จขาโต๊ะ,พระขุนแผน ,พิมพ์พระประจำวันต่างๆ,พระพุทธชิน
ราช และแบบอื่นๆอีกหลายพิมพ์ ซึ่งแต่และพิมพ์นั้น ได้มีการสร้างไว้ไม่ทราบจำนวน เมื่อแล้วเสร็จได้นำพระ
เหล่านี้ไปให้หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ปลุกเสกเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๙๖ เสร็จแล้วนำมาปลุก
เสกอีกที ที่วัดพรหมบุรีในวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๙๖ โดยมีเกจิที่ร่วมปลุกเสก อาทิเช่น
๑. พระคุณเจ้า พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
๒. พระคุณเจ้า พระครูวิบูลวิหารกิจ (หลวงพ่อจ่าย ธมฺมปญฺโญ) วัดรุ้ง จ.อ่างทอง
๒. พระคุณเจ้า พระครูสิทธิสารคุณ(หลวงพ่อจาด คังคสโร) วัดบางกะเบา
๓. พระคุณเจ้า พระวินัยธร (หลวงพ่อซวง อภโย) วัดชีปะขาว สิงห์บุรี
๔. พระคุณเจ้า หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก
๕. พระคุณเจ้า หลวงพ่อเขียว วัดเสาธงทอง อ่างทอง
๖. พระคุณเจ้า หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคร ลพบุรี
๗. พระคุณเจ้า หลวงพ่อโม ธมฺรกฺขิโต วัดจันทาราม ชัยนาท
๘. พระคุณเจ้า หลวงพ่อปลั่ง วัดภิญโญ ลพบุรี
๙. พระคุณเจ้า หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม (พระธรรมสิงหบุราจารย์ ภาวนาปฏิภาณโกศล โสภณธรรมานุสิฐ
พิพัฒน์กิจสุนทร มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาส) (วัดอัมพวัน)
๑๐. พระคุณเจ้า หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร
๑๑. พระคุณเจ้า พระปลัดกิมเฮง วัดพุทธาราม จังหวัดสิงห์บุรี

เกจิรูปอื่นๆอีก รวมทั้งสิ้น ๒๑รูป เสร็จแล้วได้นำออกแจกจ่ายญาติโยมที่ร่วมทำบุญ โดยจะแจกพระพร้อมกับ
ใบปลิวรายละเอียดการสร้าง ก่อนที่หลวงพ่อจะได้ทำการจัดสร้างพระนั้น ท่านได้ไปศึกษาและเรียนวิชากับเกจิ
ตามรายชื่อดังนี้ พ.ศ.๒๔๙๓ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) วัดหนองโพธิ์ พ.ศ.๒๔๙๔ หลวง
พ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร (เส็ง ปุสโส) วัดเขาสวนกวาง พ.ศ.๒๔๙๕ ศึกษาทำ
เครื่องรางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และ พระครูวินิจสุตคุณ (หลวงพ่อสนั่น) วัดเสาธง
ทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้างสร้าง พ.ศ.๒๔๙๖ ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชย์พระราช
สิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพ ฯลฯ
การสร้างพระเครื่องของวัดพรหมบุรีในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ สมัยก่อนชาวบ้านช่วยกันสร้าง พระชุดวัดพรหมบุรีมีไม่
ต่ำกว่า ๓๐ พิมพ์ เนื้อขององค์พระนั้นจะตำหลายครก แล้วมาผสมกันปั้นเป็นลูกกลมๆแล้วนำไปกดใส่พิมพ์ เนื้อ
ของแต่ละองค์ หรือแต่ละพิมพ์จะมีหลายเนื้อ มีเนื้อผงใบลาน,เนื้อว่าน,เนื้อดินผสมว่าน,เนื้อผงสีขาวขาวฟู ๆ
,เนื้อผงสีขาวนวลๆ,เนื้อเขียว,เนื้อผงน้ำมัน,เนื้อหินมีนโกน,เนื้อผงแห้งๆก็มี เพราะการผสมผงของแต่ละครกไม่
เหมือนกัน พระชุดวัดพรหมเป็นพระที่ถอดพิมพ์จากพระพิมพ์ของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ และพระกรุที่พบ เช่น
พิมพ์พระผงสุพรรณ พิมพ์นางพญา พิมพ์พระรอด พิมพ์หลวงพ่อโตบางกระทิง พิมพ์พระโคนสมอ พิมพ์พระนาคปรก ฯลฯ

เครดิต และขอขอบคุณสำหรับข้อมูล

แหล่งที่มาของข้อมูล ::
เฟสกลุ่ม ชมรมคนรัก"วัดรุ้ง"หลวงพ่อจ่าย

คุณเหลิม วัดรุ้ง

สามารถ แชร์และเผยแพร่ข้อมูลเป็นวิทยาทานได้ครับ
ราคาปัจจุบัน
0000
จำนวนผู้เข้าชม
870 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
ยังไม่เปิดร้านค้า
URL
-
เบอร์โทรศัพท์
0887693600
ID LINE
ppanas2509
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 205-2-064xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี